การค้าระหว่างประเทศ เป็นกลยุทธ์สำคัญในการเติบโตของธุรกิจ แต่ก็มีความซับซ้อนเกี่ยวกับกฎหมายศุลกากรสำหรับการนำเข้าและส่งออก กฎระเบียบ และสิทธิพิเศษต่างๆ ทางการค้า อาทิ FTA (ข้อตกลงการค้าเสรี) และ HS Code (พิกัดศุลกากร) ดังนั้นผู้นำเข้า ผู้ส่งออก เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างถ่องแท้มากขึ้น จะช่วยให้การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องต่างๆราบรื่นและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้
FTA ช่วยลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีศุลกากรเพื่อส่งเสริมการค้า ขณะที่ HS Code ใช้ในการกำหนดอัตราภาษีและการจัดทำข้อมูลสถิติทางการค้า ทั้งสองสิ่งนี้สำคัญในการขยายธุรกิจ โดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่เช่นประเทศไทย
บทความนี้จะอธิบายเกี่ยวกับ FTA และ HS Code รวมถึงผลกระทบในการนำมาปรับใช้ในธุรกิจจริง พร้อมแนะนำบริการโลจิสติกส์เฉพาะทางของบริษัท Siam Nistrans Co., Ltd. ที่จะสามารถช่วย สนับสนุนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในตลาดได้
การกำหนดความหมายและแนวคิดพื้นฐานของ FTA
FTA (Free Trade Agreement) หรือ ข้อตกลงการค้าเสรี คือ ข้อตกลงระหว่างประเทศหรือกลุ่มประเทศที่มีวัตถุประสงค์ในการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีศุลกากรและอุปสรรคทางการค้าอื่นๆ เพื่อกระตุ้นให้เกิดการค้า การลงทุนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง
ลักษณะเด่นของ FTA ได้แก่
● การลดหย่อนหรือยกเว้นภาษีศุลกากร
● ลดอุปสรรคทางการค้าทั้งที่เป็นอุปสรรคทางภาษี และที่มิใช่ภาษี
● การกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับแหล่งกำเนิดสินค้า
● การเปิดเสรีทางการค้าในด้านการลงทุนและการบริการ
● การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
FTA ในประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในสมาชิกของความตกลงการค้าของอาเซียน ASEAN และได้ทำข้อตกลง FTA หลายฉบับที่สำคัญ เช่น:
● AFTA (ASEAN Free Trade Area) – การยกเว้นภาษีระหว่างประเทศสมาชิก ASEAN
● JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) - ข้อตกลงทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น
● FTA กับประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศจีน ประเทศออสเตรเลีย ประเทศนิวซีแลนด์ รวมถึง RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership)
1). กรอบความตกลงพหุภาคี
1.1 RCEP: ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
1.2 ATIGA: ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน
1.3 AJCEP: ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคอาเซียน-ญี่ปุ่น
1.4 ACFTA: เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน
1.5 AKFTA: ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี
1.6 AHKFTA: ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกงและจีน
1.7 AIFTA: ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย
1.8 AANZFTA: เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์
2) กรอบความตกลงทวิภาคี
2.1 JTEPA: ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจญี่ปุ่น-ไทย
2.2 TIFTA: ความตกลงกรอบการค้าและการลงทุนไทย-อินเดีย
2.3 TAFTA: ความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
2.4 TNZCEP: ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-นิวซีแลนด์
2.5 TCFTA: ความตกลงการค้าเสรีไทย-ชิลี
2.6 TPCEP: ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นไทย-เปรู
ความหมายและความสำคัญของ HS Code
HS Code หรือ รหัสระบบการจัดกลุ่มสินค้า คือ รหัสสินค้า 8 หลัก ที่ได้รับการกำหนด โดยองค์การศุลกากรโลก (WCO) ซึ่งใช้ในการจัดประเภทสินค้าสำหรับการค้าระหว่างประเทศ
HS Code มีบทบาทสำคัญในการ
● การจัดประเภทสินค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกันในระดับสากล
● การจัดทำสถิติการค้าและการวิเคราะห์
● การกำหนดอัตราภาษีศุลกากร
โครงสร้างและวิธีการจัดประเภทของ HS Code
HS Code มีโครงสร้างตามลำดับชั้น ดังนี้
1). หลักที่ 1 ที่ 2 คือ Chapter (ตอน)
2). หลักที่ 3 และ 4 คือ Heading (ประเภท)
3). หลักที่ 5,6,7 และ 8 คือ Subheading (ประเภทย่อย)
การเพิ่มความโปร่งใสในการค้า
การใช้ FTA และ HS Code อย่างถูกต้องจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสในธุรกิจโดยสามารถ
● ลดต้นทุนการค้า เช่น ภาษีศุลกากร
● ปรับปรุงการจัดการทางศุลกากร
● ทำให้การคาดการณ์ต้นทุนการค้าทำได้ง่ายขึ้น
การขยายการเข้าถึงตลาด
การใช้ FTA และ HS Code อย่างมีกลยุทธ์จะช่วยให้
● เปิดโอกาสในการเข้าสู่ตลาดใหม่
● เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในตลาดเดิม
การสนับสนุนจาก Siam Nistrans Co., Ltd.
บริการการขออนุญาตทางศุลกากรและที่ปรึกษา
Siam Nistrans Co., Ltd. มีบริการดังนี้
● สนับสนุนการทำเอกสารศุลกากรที่ครบถ้วน
● การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ FTA และ HS Code
● การปรับปรุงการปฏิบัติตามข้อกำหนดการค้าระหว่างประเทศ
การเข้าใจและใช้ FTA และ HS Code อย่างถูกต้องเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ในการแข่งขันของธุรกิจในระดับสากล Siam Nistrans Co., Ltd. สามารถช่วยให้ท่านใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและขับเคลื่อนธุรกิจของท่านไปข้างหน้าในตลาดได้
สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลการให้บริการได้ที่ Tel : 02-261-1080~5 (EXT 237)
Website: www.th.nissin-asia.com
Website Profile : บริษัท สยามนิสทรานส์ จำกัด